ทำไมโรคข้อเสื่อมจึงเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ
ปัจจุบันได้มีการแบ่งโรคข้อเสื่อมตามสาเหตุและปัจจัยเสริม ออกเป็น 2 ประเภทคือ ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (primary) เป็นอาการข้อเสื่อมที่ไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยเสริมได้ชัดเจน และพบบ่อยที่สุด ส่วนข้อเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (secondary) เกิดจากสาเหตุทางเมตาบอลิก เช่น โรคเก๊าท์เทียม ข้อเสื่อมจากการบาดเจ็บ และข้อเสื่อมจากโรคข้อเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่โรคข้อเสื่อมทั้งสองประเภทนี้จะมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน
สาเหตุของโรคข้อเสื่อม
1. โรคข้อเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทั่วไป (constitutional factors) เช่น พันธุกรรม เพศ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว เป็นต้น ซึ่ง
พบว่า เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (estrogen) ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงทำงานน้อยลง ทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลง หากสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน จะช่วยลดโอกาสเกิดข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมได้
จากการศึกษาพบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเป็นโรคข้อเสื่อม ถ้านำผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวมาถ่ายภาพเอกซเรย์ก็จะพบข้อเสื่อมทุกราย แต่จะมีอาการหรือไม่นั้นก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นอีก เมื่ออายุมากขึ้นการตอบสนองต่อสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth factor) จะลดลง การสังเคราะห์โปรติโอไกลแคนไม่สมบูรณ์ มีโปรตีนเชื่อมต่อน้อยลง และอายุที่มากขึ้นยังทำให้เซลล์กระดูกหมดอายุขัยเร็วขึ้น รวมถึงการสร้างและการซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte) ลดลง
ความอ้วน บุคคลที่มีน้ำหนักมากหรือมีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) สูงกว่าปกติจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อเข่าเป็นจุดรับน้ำหนักของร่างกาย เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นแรงที่กดลงบนผิวข้อก็จะเพิ่มขึ้น และเนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ใช้ในการทรงตัวมากที่สุด ดังนั้นเมื่อใช้งานข้อเข่าอย่างหนักเช่นขึ้นลงบันไดมาก แบกของหนัก จะยิ่งเพิ่มแรงกดลงที่ข้อเข่า นอกจากนี้น้ำหนักที่มากเกินไปยังมีผลต่อท่าทางการเดิน ทำให้เข่าโก่งออกทำให้เวลาเดินจะเจ็บข้อเข่าด้านในได้
2. โรคข้อเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยเฉพาะที่ (local adverse mechanical factors) เช่น ตำแหน่งของข้อ การบาดเจ็บที่ข้อ ตำแหน่งของข้อ มีผลอย่างมากเนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำหนัก เช่นข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อสะโพก แต่ละข้อมีเอนไซม์และการตอบสนองต่อการอักเสบต่างกัน สารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่สำคัญคือสารไซโตไคน์ (cytokine) โดยพบว่าที่เซลล์กระดูกอ่อนข้อเข่ามีตัวรับไซโตไคน์ ชนิดอินเตอร์ลิวคิน 1 (interleukine 1, IL- 1) และเอนไซม์ MMP-8 มากกว่าที่ข้อเท้า ดังนั้นข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมมากกว่าที่ข้อเท้า
การบาดเจ็บ เป็นจุดเริ่มต้นของข้อเสื่อม โดยอาจเริ่มจากบาดเจ็บเล็กน้อยและซ้ำซาก ซึ่งใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะกลายเป็นข้อเสื่อม การบาดเจ็บทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงภายในข้อลดลง ทำให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้ามาใช้ซ่อมแซมลดลง นอกจากนี้อาจเกิดรอยร้าวเล็กๆ (microfracture) บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกกับกระดูกอ่อนและมีหินปูนมาจับบริเวณรอยต่อดังกล่าว (subchondral bone sclerosis หรือ spur หรือ osteophyte) นอกจากนี้อาจพบโพรงน้ำภายในกระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone cyst) สิ่งเหล่านี้ทำให้ความยืดหยุ่นของข้อลดลง รับแรงกระแทกได้น้อยลง เมื่อเป็นเรื้อรังจะทำให้โครงสร้างของข้อผิดรูปไปจากปกติ และทำให้เกิดอาการปวด รวมถึงมีปัญหาในการใช้งานข้อนั้นๆ
ปัจจัยเฉพาะที่อื่นๆ ที่ทำให้เกิดข้อเสื่อมได้ เช่น อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อ โครงสร้างพื้นฐานของข้อในแต่ละบุคคล เช่น โครงสร้างของเส้นเลือด ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเอง เป็นต้น
อาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข้าเสื่อมมีอาการแสดงโดยร่วม คือ อาการบวมปวด ฝืดตึงข้อตอนเช้า ปวดเสียดในข้อ อาจได้ยินหรือรู้สึกกุบกับภายในข้อ มักมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือหลังการใช้งานข้อมากขึ้น อาการปวดมักดีขึ้นหลังหยุดใช้งาน แต่ในรายที่เป็นมากแม้ว่าจะหยุดใช้งานข้อดังกล่าวแล้วอาการปวดอาจคงอยู่ได้หลายชั่วโมง รายที่มีอาการอักเสบบ่อย ผิวข้อจะแคบลงโดยเห็นได้จากภาพเอกซเรย์ และทำให้ข้อผิดรูป เช่น เข่าโก่ง จนทำให้ใช้งานข้อนั้นได้ไม่เหมือนปกติ แต่ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกัน ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเสื่อมด้วย เช่น การบาดเจ็บจากเล่นกีฬา การที่เคยเป็นโรคข้ออักเสบอื่นมาก่อน เช่น ข้ออักเสบจากผลึกเกลือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ บางรายเกิดจากการใช้งานมากเกินไปหรือใช้งานผิดประเภท และปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ น้ำหนักตัว ความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อเส้นเอ้นที่พยุงข้อ ก็มีผลให้อาการและความรุนแรงในแต่ละคนไม่เท่ากัน
การตรวจข้อของผู้ป่วยทำให้แพทย์สามารถยืนยันการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรง รวมถึงการแยกโรคข้ออักเสบเรื้อรังอื่นได้ การตรวจพบว่าข้อบวมใหญ่ขึ้น มีน้ำในข้อกระดูก หรือข้อผิดรูปเช่นลักษณะโก่งเข้า (varus) หรือโก่งออก (valgus) ซึ่งพบบ่อยที่ข้อเข่า รองลงมาคือข้อนิ้วมือ (Heberden’s & Bouchard’s node) และข้อต่อบริเวณฐานของข้อนิ้วหัวแม่มือ (carpometacarpal joint) ข้อสะโพก ข้อนิ้วโป้งเท้า ข้อกระดูกสันหลังและกระดูกคอ ซึ่งอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว บางครั้งเมื่อขยับหรือกดที่ข้อจะรู้สึกเจ็บปวดได้ อาจได้ยินเสียงกุบกับ (crepitus) และสัมผัสได้ว่าผิวข้อเสียดสีกัน บางครั้งตรวจได้ว่าเอ็นหรือกล้ามเนื้อรอบข้อ มีความตึงเกร็ง หรือบางรายอาจจะหย่อนกว่าปกติ
จ้อนท์แคร์ (jontkare) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ให้ผลจากการรับประทาน 100% เห็นผลจริง รวดเร็ว ชัดเจน จึงขายดีที่สุดในขณะนี้
ผลิตภัณฑ์ จ้อนท์แคร์ (jontkare) สามารถป้องกันและแก้ปัญหาโรคข้อเสื่อม ได้ผลจริง
ปริมาณและราคา 1 ขวดบรรจุ 30 เม็ด ราคา 1,050 บาท
สั่งสินค้าคลิกที่นี้
ดูข้อมูลที่ http://jontkaresaibua.blogspot.com
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ สายบัว บุญหมื่น โทร. 088 415 3926
ID Line : bua300908
อีเมล์ sboonmuen@gmail.com